ธีระชัย VS ประสาร หาเงินโปะนโยบาย "ปู" ปะทะ ธปท.คุมเงินเฟ้อ
ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ ทั้งจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐ อเมริกาและยุโรป ปัญหาเงินเฟ้อ และเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ทำให้เกิดความผันผวนของค่าเงิน ถือเป็นปัจจัยภายนอกที่ยากแก่การควบคุม ขณะที่รัฐบาลชุดใหม่มีภารกิจเร่งด่วนในการขับเคลื่อนงานนโยบายที่สำคัญ ๆ เกือบ 30 นโยบาย ให้เกิดผลออกมาเป็นรูปธรรมโดยเร็วอาทิ โครงการถมทะเล แจกแท็บเลต ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 23% พักหนี้ครัวเรือน รับจำนำข้าว ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ปรับเงินเดือนปริญญาตรีขั้นต่ำ 15,000 บาท โครงการบ้านหลังแรก รถยนต์คันแรก เป็นต้น
หากรัฐบาลสามารถดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามที่ได้หาเสียงไว้ คาดว่าจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท ตรงนี้จึงถือว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายความสามารถ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ขุนคลังมือใหม่ แต่ไม่ได้เพิ่งจะมาหัดขับ ซึ่งจะต้องเข้ามาทำหน้าที่จัดหาแหล่งเงินสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล
ก่อนที่นายธีระชัยจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทาง การได้โพสต์บน เฟซบุ๊กว่า "ผมจะให้ความสำคัญเรื่องวินัยทางการคลังอย่างมาก และก็เห็นด้วยกับแนวความคิดที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีรายได้ น้อย ซึ่งผมจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ แต่ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับความยั่งยืนทางการคลังด้วย และเพื่อประสานความใฝ่ฝันทางการเมืองให้พอดีกับความเป็นไปได้ในทางวิชาการ ผมจึงขอทำหน้าที่ผู้ประสานงานระหว่างข้าราชการและนโยบายของพรรคให้มีความกลม กลืนกันให้มากที่สุด"
ที่ผ่านมารัฐบาลจะมีเครื่องมือที่ใช้ในการระดม ทุนหลัก ๆ อยู่ 3 ช่องทาง ได้แก่ การระดมทุนผ่านกลไกงบประมาณ, นอกงบประมาณ และโครงการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน แต่การใช้ช่องทางหาแหล่งเงินผ่านกลไก งบประมาณก็มีข้อจำกัด เนื่องจากงบฯส่วนใหญ่กว่า 80% เป็นงบฯประจำกับงบฯชำระหนี้ ส่วนที่เหลืออีก 20% เป็นงบฯลงทุน ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลจึงต้องตั้งงบฯขาดดุล ออกพันธบัตรไปกู้เงินมาทำเป็นงบฯลงทุน และถ้าปีไหนบังเอิญเกิดวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐหลุด เป้าเป็นจำนวนมาก ก็ต้องไปออกกฎหมายพิเศษกู้เงินมาใช้จ่าย อย่างเช่น การจัดทำงบฯกลางปี หรือการออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เป็นต้น
และ ล่าสุดนี้ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า "อาจจะมีการปรับประมาณการรายได้ในปี 2555 ขึ้นไปอีก แต่คงจะปรับขึ้นไปไม่ถึง 1.8 แสนล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาสามารถจัดเก็บรายได้ได้สูงกว่าเป้าหมาย 1.9 แสนล้านบาท"
กรณี ที่กระทรวงการคลังเตรียมแผนปรับประมาณการรายได้ในปีหน้าครั้งนี้ก็จะมีผลทำ ให้วงเงินงบฯปี 2555 ปรับตัวสูงขึ้นตามตัวเลขประมาณการรายได้ที่ถูกปรับขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากยังไม่เพียงพอ รัฐบาลอาจจะต้องไปใช้กลไกเงินนอก งบประมาณเข้ามาผสมได้อีกด้วย เช่น รัฐบาลไปกู้เงินจากธนาคารออมสินส่งไปเป็นทุนดำเนินการของกองทุนหมู่บ้าน หรือรับจำนำข้าว ส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ๆ อาจจะใช้รูปแบบของการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน หรือรัฐบาลอาจจะไปกู้เงินจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่เรียกว่า "Sovereign Wealth Fund" ซึ่งแบงก์ชาติกำลังทำเรื่องเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณา โดยรัฐบาลอาจจะต้องจัดงบฯมาจ่ายผลตอบแทนให้กับแบงก์ชาติสูงกว่าที่แบงก์ชาติ ไปลงทุนในตลาดเงินสหรัฐและยุโรป
แม้ขณะนี้จะมีข้าราชการหลายกระทรวง เริ่มตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ แต่สำหรับ "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเพื่อนร่วมสำนัก "แบงก์ชาติ" กับ "ธีระชัย" ตอนนี้ยังไม่เปลี่ยนจุดยืน
และสิ่งที่ นายประสารกังวลมาโดยตลอด คือ การใช้งบฯจำนวนมหาศาลเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะในมุมของ ธปท.เห็นว่าเศรษฐกิจขณะนี้มีแรงขับเคลื่อนเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นเพิ่ม หากถูกกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป โดยไม่มีการลงทุนอาจจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา
นายประสารจึงไม่เห็น ด้วยที่จะให้เพิ่มวงเงินการขาดดุลงบฯปี 2555 ขึ้นไป ยอดขาดดุลที่ 3.5 แสนล้านบาท ถึงแม้ขณะนี้ฐานะการคลังยังแข็งแกร่ง แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่มีความแน่นอน อยากให้เก็บ "กระสุน" ไว้ใช้เมื่อจำเป็นมากกว่า อย่างกรณีสหรัฐหรือญี่ปุ่น เมื่อถึงยามจำเป็นกลับไม่มีเครื่องมือเหลือพอที่จะนำไปใช้ในการกระตุ้น เศรษฐกิจ
แม้จะเป็นนโยบายของรัฐบาลแต่ก็ควรมีการจัดลำดับให้ความ สำคัญโครงการ และการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ที่หาเสียงไว้ควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบการปรับตัวของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวม และที่สำคัญจะต้องระบุแหล่งที่มาของเงินรายได้ที่รัฐบาลจะนำมาใช้จ่ายให้ ชัดเจนด้วย
และนี่คือภารกิจเร่งด่วนที่ท้าทายความสามารถขุนคลังคน ใหม่ นอกจากจะต้องเร่งหาเงินมาสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลแล้ว ยังต้องเป็นนักประสานสิบทิศอีกด้วย โดยเฉพาะที่จะต้องประสานงานกับเพื่อนเก่าอย่าง "ประสาร" และ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ดูเหมือนจะมีความคิดเห็นที่ไม่ค่อยจะสอดรับกันสักเท่าไหร่
แต่ ท้ายที่สุดแล้ว ทั้งกระทรวงการคลัง และ ธปท.ก็ต้องยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่มีความสอดคล้องกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างยึดแต่เป้าหมายของตัวเอง เสมือนพายเรือกันไปคนละทาง ที่ผ่านมาประเทศไทยถึงไม่ไปไหนมาหลายปีแล้ว
0 comments:
Post a Comment